1.6.1 แถบคลื่นวิทยุ 10-66 GHz Licensed Band
เป็นแถบคลื่นวิทยุที่ต้องการใบอนุญาตหรือ license และต้องการการคุ้มครองการรบกวนด้านคลื่นวิทยุ แถบคลื่นวิทยุนี้อยู่ในช่วงความถี่สูง ดังนั้นการติดต่อระหว่างสถานีฐานและสถานีลูกข่ายจึงต้องการการสื่อสารทิศทางตรง (Line of Sight) ความกว้างของช่องสัญญาณหรือ Channel bandwidth ที่ใช้จะอยู่ที่ 25 – 28 MHz ต่อช่องสัญญาณ ซึ่งสามารถให้ความเร็วได้ถึง 125 Mbps ส่วนคุณสมบัติทางกายภาพหรือ physical layer ของอุปกรณ์ WiMAX ที่ทำงานบนแถบคลื่นวิทยุนี้ถูกกำหนดโดย system profile ที่ชื่อว่า WirelessMAN-SC การรับ ส่งข้อมูลจะใช้ single carrier (SC)
1.6.2 แถบคลื่นวิทยุ ต่ำกว่า 11 GHz Licensed Band
เป็นแถบคลื่นวิทยุที่ต้องการใบอนุญาตหรือ license และต้องการการคุ้มครอง การรบกวนด้านคลื่นวิทยุ ในหลายๆประเทศแถบคลื่นวิทยุที่ใช้จริงจะอยู่ในแถบคลื่นวิทยุที่ ต่ำกว่า 6 GHz การติดต่อระหว่างสถานีฐาน และสถานีลูกข่ายสามารถสื่อสารทิศทางอ้อม (Non Line of Sight) ได้ ความกว้างของช่องสัญญาณอยู่ระหว่าง 1.75-20 MHz ส่วนคุณสมบัติทาง Physical Layer ของอุปกรณ์ WiMAX ที่ทำงานบนแถบคลื่นวิทยุนี้มีการกำหนดไว้หลาย system profiles ดังนี้
1.6.2.1 WirelessMAN-SCa: การรับส่งข้อมูลใช้ single carrier (SC)
1.6.2.2 WirelessMAN-OFDM: การรับส่งข้อมูลใช้หลาย sub-carrier ที่มีการ modulation แบบ orthogonal frequency-division multiplexing (OFDM)
1.6.2.3 WirelessMAN-OFDMA: การรับส่งข้อมูลใช้หลาย sub-carrier ที่มีการ modulation แบบ orthogonal frequency-division multiple access (OFDMA)
1.6.3 แถบคลื่นวิทยุ ต่ำกว่า 11 GHz Unlicensed Band
เป็นแถบคลื่นวิทยุที่ไม่ต้องการใบอนุญาตหรือ license และไม่ได้รับการคุ้มครอง การรบกวนด้านวิทยุ การติดต่อระหว่างสถานีฐาน และสถานีลูกข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร ทิศทางอ้อม (Non Line of Sight) เนื่องจากการใช้งานอยู่ในแถบคลื่นวิทยุที่ใช้งานร่วมกับข่าย สื่อสารอื่นๆ ที่อาจจะมีการรบกวนกันได้ ดังนั้น Operator ที่จะใช้แถบคลื่นวิทยุแบบ unlicensed จึงต้องติดตั้งกลไกที่เรียกว่า Dynamic Frequency Selection (DSF) เป็นกลไกการเพื่อ หลบหลีกการส่งข้อมูลในช่องสัญญาณที่มีผู้ใช้อยู่แล้ว เพื่อลดโอกาสของสัญญาณรบกวนกันส่วนคุณสมบัติทาง Physical Layer ของอุปกรณ์ WiMAX ที่ทำงานบนแถบคลื่นวิทยุนี้ถูกกำหนดโดย system profiles ที่ชื่อว่า Wireless HUMAN (High speed unlicensed metropolitan area network : HUMAN) การส่งข้อมูลได้สามรูปแบบคือ single carrier, OFDM, OFDMA แบบเดียวกับข้อที่ 1.5.3
1.6.4 หมายเหตุ
IEEE 802.16 ได้กำหนดอย่างกว้างๆ สำหรับแถบคลื่นวิทยุที่ใช้งานและความกว้างของช่องสัญญาณ โดยไม่ได้เจาะจงแน่นอนลงไปว่าใช้ความถี่ที่เท่าไหร่และความกว้างของช่องสัญญาณเท่าใด ด้วยเหตุผลเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการนำ IEEE 802.16 ไปใช้งานจริง อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจาก บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างบริษัทได้มีการใช้ค่าตัวเลือกต่างๆ ที่ไม่ตรงกันซึ่งสามารถก่อให้เกิดปัญหาการใช้งานร่วมกัน (Interoperability) ได้ ดังนั้น IEEE 802.16 ได้กำหนดค่าตั้งต้นสำหรับความกว้างของช่องสัญญาณไว้ใน system profile ส่วนแถบคลื่นวิทยุใช้งานไม่มีการกำหนดตายตัวในมาตรฐาน แต่จะเปิดกว้างขึ้นกับนโยบายการจัดสรรความถี่ของแต่ละประเทศแต่อย่างไรก็ตามWiMAX Forum ได้ประสานงานกับ International Telecommunication Union (ITU) และ Regulator ของแต่ละประเทศ เพื่อให้มีการจัดสรรความถี่สำหรับการใช้งาน WiMAX ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ภาพที่ 1-11 แสดงให้เห็นถึงการจำแนกมาตรฐานการสื่อสารไร้สายชนิดต่าง ๆ ในโลกออกเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มได้รับการแบ่งแยกตามรูปแบบและพื้นที่ในการให้บริการ โดยมีมาตรฐานที่ได้รับการกำหนดขึ้นโดยสององค์กรอิสระทางโทรคมนาคม คือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineer) ซึ่งเป็นองค์กรมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา และ ETSI (European Telecommunication Standards Institute) อันเป็นองค์กรของยุโรป ไม่ว่าจะ เป็นมาตรฐาน IEEE802.15 หรือ Bluetooth ที่มีระยะทางในการสื่อสารไม่กี่เมตร และมาตรฐาน IEEE802.11 ซึ่งเป็น IEEE802.16 จึงถือเป็นความพยายามของขั้วอำนาจอเมริกาที่จะผลักดันมาตรฐานสื่อสารไร้สายที่มีพื้นที่ให้บริการในระดับปานกลาง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) โดยเน้นการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงเป็นสำคัญ ข้อกำหนดมาตรฐาน IEEE802.16 มีสาระสำคัญเพียงมาตรฐานทางเทคนิคในการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุโดยใช้เทคโนโลยี OFDM ซึ่งถือว่าอยู่ห่างไกลจากการผลักดันเทคโนโลยีดังกล่าว ให้เป็นมาตรฐานเครือข่ายไร้สายในเชิงพาณิชย์ มาตรฐานเครือข่าย WiMAX สามารถให้บริการแบบ NLOS โดยมีคุณลักษณะพิเศษทางเทคนิคหลาย ๆ ประการช่วยเสริมให้เทคโนโลยีชนิดนี้สามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้ในช่วง 5 ถึง 8 กิโลเมตร และในกรณีที่จำเป็นหากกำหนดให้ WiMAX กลับมาทำงานในรูปแบบ LOS เฉกเช่นเทคโนโลยีไมโครเวฟโดยทั่วไป ก็จะทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ในระยะทางสูงสุดถึง 50 กิโลเมตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น