วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

1.12 เส้นทางการพัฒนาของมาตรฐาน WiMAX

WiMAX เป็นผลต่อเนื่องมาจากการพัฒนามาตรฐานสื่อสาร IEEE802.16 ให้สามารถรองรับการสื่อสารอัตราเร็วสูง จำเป็นต้องแบ่งย่อยขั้นตอนของการพัฒนาการมาตรฐาน WiMAX ออกเป็นมาตรฐานย่อยๆ เริ่มจากมาตรฐาน IEEE802.16a ที่ถือเป็นต้นแบบของการสื่อสารไร้สายในลักษณะของเครือข่ายแบบเซลลูลาร์ เป้าหมายของกลุ่มความร่วมมือ WiMAX อยู่ที่มาตรฐานแบบ IEEE802.16d ซึ่งเป็นมาตรฐาน WiMAX ที่เป็นสากลรุ่นแรก มีทั้งเป็นย่าน 2.5 กิกะเฮิตรซ์ และ 5 กิกะเฮิตรซ์ ทั้งนี้มีการกำหนดย่านความถี่สำหรับให้ใช้งานในภูมิต่างๆ ดังภาพที่ 1-18 ดังนี้
1.12.1 ทวีปอเมริการเหนือ กำหนดให้ใช้ย่าน 2.5 และ 5 กิกะเฮิตรซ์
1.12.2 ทวีปอเมริการใต้ กำหนดให้ใช้ย่าน 2.5, 3.5 และ 5 กิกะเฮิตรซ์
1.12.3 ยุโรป อเมริการใต้ และเอเชีย กำหนดให้ใช้ย่าน 3.5 และ 5 กิกะเฮิตรซ์
ข้อจำกัดประการสำคัญของมาตรฐาน IEEE802.16d คือไม่สามารถรอบรับเครื่องลูกข่ายแบบพกพา ทำให้ผู้ประกอบการเครือข่ายไม่อาจวางแผนธุรกิจในลักษณะเดียวกับเครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ มาตรฐาน IEEE802.16d จึงเหมาะสำหรับการเปิดให้บริการในลักษณะของ DSL ไร้สาย (Wireless DLS) ดังตารางที่ 1-7 [Available online at : http://www.pairoj.com/]



พัฒนาการขั้นต่อไปของเทคโนโลยี WiMAX ก็คือมาตรฐาน IEEE802.16e ซึ่งถือเป็น การเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารไร้สายอัตราเร็วสูงที่ผู้ใช้บริการสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดว่าการเคลื่อนที่นั้นต้องไม่รวดเร็วหรือมีการเปลี่ยนตำแหน่งบ่อยนัก (Nomadic Service) เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะที่ผู้ใช้บริการพกพาเครื่องลูกข่าย WiMAX ไปใช้งานในสวนสาธารณะ อาจมีการเปลี่ยนอิริยาบถหรือเดินไปยังบริเวณอื่นๆ ได้บ้างถือเป็น พฤติกรรมการใช้งานที่คล้ายคลึงกับการใช้บริการ Wi-Fi ตามสถานที่ต่างๆ ในปัจจุบันข้อ แตกต่างทางเทคนิคของมาตรฐาน IEEE802.16d และ IEEE802.16e โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มขีด ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลขณะเคลื่อนที่ (Mobility Management) แต่จะไม่มีการแก้ไขมาตรฐานการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ ดังนั้นเครือข่าย WiMAX ในอนาคตก็จะยังคงสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องลูกข่ายยุคแรก ๆ ตามมาตรฐาน IEEE802.16e ได้
สำหรับพัฒนาการในอนาคตของเครือข่าย WiMAX มีชื่อเรียกว่ามาตรฐาน IEEE802.16e+ ถือเป็นการผลักดันเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายชนิดนี้ให้เป็นหนึ่งในมาตรฐานการสื่อสารไร้สายของมาตรฐานเครือข่ายไร้สายยุคที่ (4th Generation Mobile หรือ 4G) ซึ่งเท่ากับ ว่าเป็นการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยี WiMAX ให้รองรับการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังรองรับการนำเครื่องลูกข่ายไปใช้งานต่างพื้นที่ หรือแม้กระทั่งข้ามไปใช้งาน
27
เครือข่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย WiMAX ด้วยกันหรือเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เรียกว่ามีความสามารถในลักษณะของ Global Roaming รายละเอียดการเปรียบเทียบทางเทคนิคของมาตรฐาน WiMAX ชนิดต่างๆ มีอยู่ในตารางที่ 1-7 จะเห็นว่าหากมีความจำเป็น ผู้ประกอบการเครือข่าย WiMAX ก็มีสิทธิ์ที่จะขอใช้ย่านความถี่พิเศษที่ไม่จำเป็น ต้องอยู่ในช่วง 2.5, 3.5 หรือ 5 กิกะเฮิตรซ์ได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงศักยภาพของตลาดในประเทศนั้นๆ อันจะนำมาซึ่งอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและเครื่องลูกข่าย WiMAX [Available online at : http://www.thaiwirelesslan.com/]




ไม่มีความคิดเห็น: