วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551

1.14 รูปแบบการใช้งานในส่วนต่างๆ

1.14.1 ระบบบรอดแบนด์ตามความต้องการ (Broadband on-demand)
สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMax นั้นจะช่วยให้เหล่าโอเปอเรเตอร์ต่างๆ สามารถจัดสรรงานบริการที่มีความเร็วสูงเทียบเท่าระบบเครือข่ายแบบใช้สายได้ โดยใช้เวลาการติดตั้งที่น้อยกว่า มีราคาที่ถูกกว่ามาก นอกจากนั้น WiMax ก็ยังช่วยให้มีการจัดเตรียมการใช้งานระบบสื่อสารความเร็วสูงในรูปแบบตามความต้องการได้ในทันทีทันใด โดยรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการทำงานในแบบชั่วคราวอาทิเช่น การจัดนิทรรศการ การจัดงานประชุม การจัดงานแสดงสินค้า เป็นต้น
1.14.2 ระบบการสื่อสารบรอดแบนด์สำหรับที่พักอาศัย
ขณะที่เทคโนโลยีการใช้งานสายเคเบิลและเทคโนโลยี DSL ที่ถูกใช้งานในปัจจุบันนั้นมีช่องว่างในการใช้งานมาก ด้วยข้อจำกัดของการวางโครงข่ายที่มีอยู่และต้นทุนของการวางระบบ ทำให้ไม่สามารถให้บริการกับผู้ที่ต้องการใช้งานจำนวนมากซึ่งต้องการระบบการสื่อสารระดับบรอดแบนด์ได้ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้จะถูกทลายลง เมื่อมีการเปิดตัวระบบที่อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMax ออกมาโดยแอพพลิเคชันสำหรับการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สาย WiMax จะช่วยให้สามารถพัฒนางานต่างๆ ที่สนองตอบความต้องการการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้
1.14.3 พื้นที่ซึ่งบริการเข้าไม่ถึง
นับว่าเทคโนโลยีระบบการสื่อสารอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ได้อ้างอิง กับมาตรฐาน WiMax นี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลในเขตที่มีข้อจำกัดของการเดินสายนำสัญญาณในระบบ DSL
1.14.4 บริการการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูง
มาตรฐาน IEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a นั้นเป็นคุณสมบัติแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์ในแบบพกพาสำหรับการเดินทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้ โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดี และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
1.14.5 การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul
ด้วยแบนด์วิดท์การใช้งานของ WiMax ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ จึงทำให้มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการที่จะนำมาใช้งานให้รองรับการส่งสัญญาณ ในแบบย้อนกลับไปยังสถานีฐานระบบเซลลูลาร์ ซึ่งมีการติดต่อสื่อสารกันในแบบจุดต่อจุดได้ [Available online at : http://www.quickpc.co.th]

1.13 การประยุกต์ใช้งานของ WiMAX

1.13.1 การเชื่อมอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงสำหรับบ้านและธุรกิจขนาดเล็ก – การกระจายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายไปสู่ บ้านและธุรกิจขนาดเล็กที่เรียกว่า Last mile connection ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นบริการเสริมหรือแทนที่การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบมีสาย เช่น DSL, Cable modem ในบางพื้นที่ที่เป็นถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญ การติดตั้งเครือข่ายแบบมีสายต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมาก WiMAX สามารถสร้างการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้อย่างรวดเร็วและด้วยเงินลงทุนที่ต่ำกว่า
1.13.2 WiMAX สำหรับธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ – ในธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานใหญ่ กับสาขาย่อยมักเชื่อมต่อกันผ่านทางเครือข่ายแบบมีสาย เช่น Lease line หรือ T1 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งและใช้งาน WiMAX สามารถให้บริการเชื่อมต่อแบบไร้สาย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถใช้ทดแทนการเชื่อมต่อแบบมีสายข้างต้น
1.13.3 การเชื่อมต่อแบบส่งต่อให้กับเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะ หรือ Wi-Fi Hotspot Backhaul – WiMAX สามารถถูกนำไปใช้เป็นลิงค์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้กับเครือข่าย Wi-Fi Hotspot
1.13.4 การเชื่อมต่อแบบส่งต่อให้กับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หรือ Cellular Backhaul - ในเครือข่าย Cellular นั้นจะประกอบไปด้วยสถานีส่ง หรือ base station ที่กระจายอยู่ทั่วไปการเชื่อมต่อระหว่าง cellular base station นั้นมักจะพึ่งพาบริการ lease line จาก wired operator WiMAX สามารถให้บริการที่เป็น point-to-point connection คือสามารถเชื่อมต่อโดยตรง ระหว่าง base station ด้วยเทคโนโลยี WiMAX ซึ่งเป็นการช่วยให้ cellular operator สามารถนำมาตั้งและลดการพึ่งพาจากwired operator ซึ่งมีความเสี่ยงเพราะถือว่าเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ ในบางกรณี cellular base station สามารถเชื่อมต่อผ่านทาง microwave link ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง WiMAX ก็สามารถใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งหรือถูกใช้เป็นการเชื่อมต่อเสริม (Overlay connection) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลหรือ link capacity โดยมีค่าใช้จ่ายที่ ต่ำกว่า
1.13.5 เครือข่ายสำหรับกิจการสาธารณะ (Public safety service) - WiMAX มีความ ยืดหยุ่นสูงในการใช้งานแบบพกพา (Portable Access) ซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้ในกิจการสาธารณะเช่น
1.13.5.1 การสื่อสารของตำรวจ อุปกรณ์ WiMAX ถูกติดประจำที่รถตำรวจ ตำรวจสามารถเรียกข้อมูลจากศูนย์บัญชาการได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่าย WiMAX
1.13.5.2 หน่วยบรรเทาสาธารณภัย เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น โครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารอื่นๆเช่นโทรศัพท์มือถือ ถูกทำลายไป WiMAX สามารถถูกนำไปติดตั้งและสร้างเครือข่ายในที่เกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยในการสื่อสารข้อมูลจากที่เกิดเหตุไปสู่ส่วนกลางเพื่อช่วยในการประสานงานสาธารณภัย
1.13.5.3 หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ WiMAX สามารถถูกติดตั้งไปกับรถพยายาลแพทย์เคลื่อนที่ หน่วยพยาบาลเคลื่อนที่สามารถส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวของคนไข้ในที่เกิดเหตุกลับไปสู่โรงพยาบาลเพื่อทำการวินิจฉัยได้ทันท่วงที
1.13.6 การใช้งานอินเทอร์เน็ตนอกสถานที่ – ในอนาคตอันใกล้ อุปกรณ์ WiMAX จะรวม เป็นส่วนประกอบหนึ่งใน Notebook ซึ่งผู้ใช้สามารถติดต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกเวลาสถานท

1.12 เส้นทางการพัฒนาของมาตรฐาน WiMAX

WiMAX เป็นผลต่อเนื่องมาจากการพัฒนามาตรฐานสื่อสาร IEEE802.16 ให้สามารถรองรับการสื่อสารอัตราเร็วสูง จำเป็นต้องแบ่งย่อยขั้นตอนของการพัฒนาการมาตรฐาน WiMAX ออกเป็นมาตรฐานย่อยๆ เริ่มจากมาตรฐาน IEEE802.16a ที่ถือเป็นต้นแบบของการสื่อสารไร้สายในลักษณะของเครือข่ายแบบเซลลูลาร์ เป้าหมายของกลุ่มความร่วมมือ WiMAX อยู่ที่มาตรฐานแบบ IEEE802.16d ซึ่งเป็นมาตรฐาน WiMAX ที่เป็นสากลรุ่นแรก มีทั้งเป็นย่าน 2.5 กิกะเฮิตรซ์ และ 5 กิกะเฮิตรซ์ ทั้งนี้มีการกำหนดย่านความถี่สำหรับให้ใช้งานในภูมิต่างๆ ดังภาพที่ 1-18 ดังนี้
1.12.1 ทวีปอเมริการเหนือ กำหนดให้ใช้ย่าน 2.5 และ 5 กิกะเฮิตรซ์
1.12.2 ทวีปอเมริการใต้ กำหนดให้ใช้ย่าน 2.5, 3.5 และ 5 กิกะเฮิตรซ์
1.12.3 ยุโรป อเมริการใต้ และเอเชีย กำหนดให้ใช้ย่าน 3.5 และ 5 กิกะเฮิตรซ์
ข้อจำกัดประการสำคัญของมาตรฐาน IEEE802.16d คือไม่สามารถรอบรับเครื่องลูกข่ายแบบพกพา ทำให้ผู้ประกอบการเครือข่ายไม่อาจวางแผนธุรกิจในลักษณะเดียวกับเครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ มาตรฐาน IEEE802.16d จึงเหมาะสำหรับการเปิดให้บริการในลักษณะของ DSL ไร้สาย (Wireless DLS) ดังตารางที่ 1-7 [Available online at : http://www.pairoj.com/]



พัฒนาการขั้นต่อไปของเทคโนโลยี WiMAX ก็คือมาตรฐาน IEEE802.16e ซึ่งถือเป็น การเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารไร้สายอัตราเร็วสูงที่ผู้ใช้บริการสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดว่าการเคลื่อนที่นั้นต้องไม่รวดเร็วหรือมีการเปลี่ยนตำแหน่งบ่อยนัก (Nomadic Service) เหมาะสำหรับการใช้งานในลักษณะที่ผู้ใช้บริการพกพาเครื่องลูกข่าย WiMAX ไปใช้งานในสวนสาธารณะ อาจมีการเปลี่ยนอิริยาบถหรือเดินไปยังบริเวณอื่นๆ ได้บ้างถือเป็น พฤติกรรมการใช้งานที่คล้ายคลึงกับการใช้บริการ Wi-Fi ตามสถานที่ต่างๆ ในปัจจุบันข้อ แตกต่างทางเทคนิคของมาตรฐาน IEEE802.16d และ IEEE802.16e โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มขีด ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลขณะเคลื่อนที่ (Mobility Management) แต่จะไม่มีการแก้ไขมาตรฐานการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ ดังนั้นเครือข่าย WiMAX ในอนาคตก็จะยังคงสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องลูกข่ายยุคแรก ๆ ตามมาตรฐาน IEEE802.16e ได้
สำหรับพัฒนาการในอนาคตของเครือข่าย WiMAX มีชื่อเรียกว่ามาตรฐาน IEEE802.16e+ ถือเป็นการผลักดันเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายชนิดนี้ให้เป็นหนึ่งในมาตรฐานการสื่อสารไร้สายของมาตรฐานเครือข่ายไร้สายยุคที่ (4th Generation Mobile หรือ 4G) ซึ่งเท่ากับ ว่าเป็นการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยี WiMAX ให้รองรับการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังรองรับการนำเครื่องลูกข่ายไปใช้งานต่างพื้นที่ หรือแม้กระทั่งข้ามไปใช้งาน
27
เครือข่ายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่าย WiMAX ด้วยกันหรือเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เรียกว่ามีความสามารถในลักษณะของ Global Roaming รายละเอียดการเปรียบเทียบทางเทคนิคของมาตรฐาน WiMAX ชนิดต่างๆ มีอยู่ในตารางที่ 1-7 จะเห็นว่าหากมีความจำเป็น ผู้ประกอบการเครือข่าย WiMAX ก็มีสิทธิ์ที่จะขอใช้ย่านความถี่พิเศษที่ไม่จำเป็น ต้องอยู่ในช่วง 2.5, 3.5 หรือ 5 กิกะเฮิตรซ์ได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงศักยภาพของตลาดในประเทศนั้นๆ อันจะนำมาซึ่งอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและเครื่องลูกข่าย WiMAX [Available online at : http://www.thaiwirelesslan.com/]




1.11 พื้นที่ให้บริการของ WiMAX

เทคโนโลยี WiMAX คือศักยภาพในการให้บริการสื่อสารข้อมูล พื้นที่ให้บริการ และอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูล ในทางปฏิบัติผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย WiMAX อาจจะเพิ่มขีดความสามารถพิเศษทางเทคนิคเพื่อเสริมศักยภาพในการให้บริการให้สูงขึ้นจากมาตรฐาน เพื่อเป็นตัวอย่างง่ายๆ สำหรับการคำนวณขีดความสามารถในการให้บริการ ซึ่งเปรียบเทียบมาตรฐาน WiMAX ชนิดเต็มรูปแบบ ซึ่งมีการนำขีดความสามารถพิเศษต่างๆ มาเพิ่มเสริมไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มกำลังส่งของสถานีฐาน และคุณลักษณะพิเศษเฉพาะอื่นๆ โดยเทียบกับสถานีฐาน WiMAX ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ดังแสดงในตารางที่ 1-6 โดยกำหนดให้เป็นการเปรียบเทียบที่ย่านความถี่ 3.5 กิกะเฮิตรซ์ และแถบความถี่ในการใช้งานกว้าง 3.5 เมกะเฮิตรซ์ [Available online at : http://www.pairoj.com/]


สำหรับการติดตั้งเครือข่าย WiMAX ในทางปฏิบัติ อุปกรณ์เครือข่ายที่พร้อมให้ติดตั้งโดยส่วนใหญ่จะเป็นชนิดเต็มรูปแบบ ต่างกันเพียงว่าผู้ผลิตรายใดจะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเครือข่ายได้มากน้อยกว่ากัน จึงกล่าวได้ว่าสถานีฐาน WiMAX แต่ละแห่ง สามารถให้บริการแบบ NLOS ได้ในรัศมีทำการตั้งแต่ 4-9 กิโลเมตร รองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงสุดในช่วง 8 – 11.3 เมกะบิตต่อวินาที ทั้งช่วงขาขึ้น (จากเครื่องลูกข่ายไปยังสถานีฐาน) และขาลง (จากสถานีฐานไปสูเครื่องลูกข่าย) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานการสื่อสารไร้สาย แบบ MAN ที่ยังไม่อาจหาคู่แข่งได้ แม้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มาตรฐาน W-CDMA ใน ปัจจุบันก็ยังคงรองรับการสื่อสารข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูงสุดเพียง 384 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้น ยิ่งหากนำเทคโนโลยี WiMAX ไปใช้งานสื่อสารระยะทางไกลโดยใช้การรับส่งแบบ LOS ด้วย แล้วก็จะทำให้เพิ่มระยะทางในการส่งได้ไกลถึง 30-50 กิโลเมตรทีเดียว ดังภาพแสดงการเปรียบเทียบในภาพที่ 1-17


1.10 ลักษณะเด่นของเครือข่าย WiMAX

ในการกำหนดเครือข่าย WiMAX รับสัญญาณแบบ LOS สามารถเปิดใช้งานได้ทันที ข้อควรระวังคือการตรวจสอบเส้นทางการส่งสัญญาณมิให้มีสิ่งกีดขวางเท่านั้น แต่เนื่องจากการกำหนดยุทธศาสตร์ให้กับเทคโนโลยี WiMAX เพื่อรองรับการสื่อสารแบบ Wide Area Network ในลักษณะของเครือข่ายแบบเซลลูลาร์นั้น จำเป็นต้องใช้การรับส่งสัญญาณแบบ NLOS เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากปรากฏการณ์ Multipath Fading (คือสัญญาณผิดเพี้ยนไปเนื่องจากการแทรกสอดของสัญญาณที่มาจากหลายๆ ทิศทาง) จึงจำเป็นต้องนำมาตรฐานการสื่อสารแบบ IEEE802.16 ที่ได้รับการกำหนดขึ้นโดย IEEE มาปรับปรุงและเพิ่มเติมขีดความสามารถพิเศษอื่นๆ เพื่อทำให้ WiMAX กลายเป็นมาตรฐานสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูงแบบไร้สายที่สมบูรณ์แบบ เทคโนโลยีสำคัญที่จำเป็นฐานรากให้กับการสื่อสารแบบ WiMAX คือเทคโนโลยี OFDM [Available online at : http://www.pairoj.com/]


1.10.1 เทคโนโลยี OFDM
OFDM หรือ Orthogonal Frequency Division Multiplexing ถือเป็นหัวใจสำคัญของมาตรฐาน WiMAX โดยเป็นขอ้กำหนดที่ตรงกับมาตรฐาน IEEE802.16 OFDM เป็นเทคโนโลยีหนึ่งเดียวที่ช่วยให้การรับส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ภายใต้เงื่อนไขการแพร่กระจายสัญญาณแบบ NLOS แม้เทคโนโลยี WiMAX จะกำหนดให้ใช้แถบความถี่คลื่นวิทยุ (Bandwidth) ที่กว้างมากๆ เทคโนโลยี OFDM แม้จะเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐาน Spread Spectrum ก็ถือว่ามีการรับส่งข้อมูลแบบ Multiple Carrier Mode ซึ่งหมายถึงการแบ่งย่อยแถบความถี่ออกเป็นแถบย่อยๆ สำหรับแยกส่งข้อมูลหลายๆ ช่อง แตกต่างจากมาตรฐาน Spread Spectrum ทั่วไปที่ใช้แถบความถี่เดียวสำหรับรับส่งข้อมูลช่องเดียว



สำหรับการรับส่งข้อมูลด้วยเทคโนโลยี OFDM จะมีข้อแตกต่างออกไป โดยก่อนจะทำการส่งแบบแยกแถบความถี่ออกเป็นแถบความถี่ย่อยๆ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ต้องการจะส่งมาทำการเรียงลำดับเป็นกลุ่มรหัสข้อมูล (Symbol) โดยเนื้อหาข้อมูลที่อยู่ภายในแต่ละกลุ่มรหัสข้อมูลนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นข้อมูลของผู้ใช้บริการรายเดียวกัน เป็นการเพิ่มเงื่อนไขในการทำงานขึ้นจากมาตรฐาน Spread Spectrum แทนที่จะส่งข้อมูลออกไปในแถบความถี่กว้าง ก็ให้นำข้อมูลมาจัดเป็นกลุ่มรหัสข้อมูลเสียก่อน กลุ่มรหัสข้อมูลแต่ละกลุ่มจะถูกนำส่งออกอากาศโดยมีการกำหนดแบ่งแยกแถบความถี่ออกเป็นแถบย่อยๆ มีจำนวนแถบเท่ากับกลุ่มรหัสข้อมูล ส่วนที่จะกำหนดให้มีกี่กลุ่มรหัสข้อมูลหรือแถบความถี่ย่อยนั้นแล้วแต่ข้อกำหนดของเทคโนโลยีนั้นๆ

จึงคล้ายกับการตัดตอนข้อมูลออกเป็นกลุ่มย่อยๆ แล้วให้แต่ละกลุ่มส่งขนานกันไปในเวลาเดียวกัน เพียงแต่อยู่ในแถบความถี่ย่อยๆ ผิดกับมาตรฐาน Spread Spectrum ที่หากคิดแบบเดียวกับ OFDM ว่ามีการจัดกลุ่มรหัสข้อมูลขึ้นเหมือนกัน ก็จะเห็นการส่งกลุ่มรหัสข้อมูลเรียงต่อกันไปตามเวลา จึงคล้ายกับมาตรฐาน Spread Spectrum โดยมีการส่งข้อมูลในแนวขนานแทนที่จะเป็นการส่งต่อเป็นทอดๆ หรือที่เรียกกันว่าเป็นแบบอนุกรม


ข้อดีของการรับส่งข้อมูลแบบ OFDM นั้นสามารถอธิบายให้เห็นได้ชัดเจนด้วยภาพที่ 1-16 ในกรณีที่เกิดการรบกวนทางความถี่ อันอาจสืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือถูกรบกวนด้วยคลื่นความถี่วิทยุอื่น ๆ อันมีผลทำให้คุณสมบัติของช่องสื่อสารเกิดเปลี่ยนแปลงไปดังแสดงในด้านซ้ายของภาพที่ 1-16 การรับส่งข้อมูลแบบ Spread Spectrum Single Carrier Mode ก็จะเริ่มประสบปัญหาทันที สมมติว่าเกิดการรบกวนในแถบความถี่ดังแสดงในรูปซ้าย ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีการส่งกลุ่มรหัสข้อมูล S3 ก็จะมีผลทำให้ ข้อมูลเกิดความผิดพลาด อุปกรณ์สื่อสารต้นทางและปลายทางจำเป็นต้องเริ่มทำกระบวนการกู้และแก้ไขข้อมูล (Error Collection) กว่าจะย้อนส่งข้อมูลในกลุ่มรหัส S3 ได้ทั้งหมด ก็ต้องทำให้เกิดความล่าช้าและเกิดภาวะคอขวดต่อรหัสข้อมูลในกลุ่มอื่น ๆ ที่ติดตามมามองในแง่ของการใช้บริการก็คือ มีปัญหาช่องสื่อสารขัดข้องรับส่งข้อมูลได้ล่าช้าโดยไม่ทราบสาเหตุ
ในกรณีเดียวกัน หากเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ OFDM ปัญหาการลดทอนของสัญญาณที่ปรากฏขึ้นจะกลายเป็นเพียงผลกระทบที่มีต่อรหัสข้อมูลเฉพาะกลุ่มเท่านั้น มิได้มีผลกระทบต่อ ช่องสัญญาณโดยรวม ซึ่งหากเป็นเพียงการทำให้ระดับสัญญาณของแถบความถี่ย่อยบางช่องลดลง ก็อาจไม่มีผลต่อการสื่อสารแต่อย่างใด เนื่องจากวงจรขยายสัญญาณของอุปกรณ์ภาครับอาจทำหน้าที่ปรับระดับความแรงของสัญญาณได้ หรือแม้จะเกิดการรบกวนจนทำให้ข้อมูลใน กลุ่มรหัสข้อมูลผิดเพี้ยนไปจนต้องมีการแก้ไขโดยกระบวนการกู้และแก้ไขข้อมูล แต่ก็เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเฉพาะช่องสื่อสารที่เป็นของกลุ่มรหัสข้อมูลเฉพาะกลุ่มเท่านั้น มิได้ส่งผล กระทบต่อภาพรวมของการสื่อสารข้อมูล ผลที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติแม้จะสามารถสังเกตได้โดย ผู้ใช้บริการ แต่แทบจะไม่ทำให้การสื่อสารผ่านเครือข่าย WiMAX เกิดความล่าช้าขึ้นแต่อย่างใด ยิ่งในภาวะปกติที่ไม่มีการถูกรบกวนอย่างรุนแรง ก็ต้องรับว่าเครือข่าย WiMAX ซึ่งใช้เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบ OFDM ยังคงมีภูมิต้านทานต่อสัญญาณรบกวนทั่วๆ ไปเหนือกว่าเครือข่าย 3G ที่ใช้เทคโนโลยี Spread Spectrum อยู่มาก ส่งผลเกื้อหนุนให้รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่ามาก

1.9 WiMAX Forum Certification Profile

เป้าหมายหลักอันหนึ่งของ WiMAX Forum คือ กำหนด specification หรือ certification profile สำหรับอุปกรณ์ WiMAX เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตเลือกใช้เป็นแนวทางในการผลิตเพื่อให้มั่นใจว่า อุปกรณ์จากต่างผู้ผลิตสามารถใช้งานร่วมกันได้ สิ่งที่ WiMAX Forum จัดทำคือทำการเลือก system profile ที่กำหนดไว้ใน IEEE802.16 (ดังที่แสดงไว้ในหัวข้อ 2.6) มาจัดทำเป็น certification profile ซึ่ง WiMAX Forum นำ profile นี้มาใช้เป็นหลักในการตรวจสอบและรับรองอุปกรณ์ WiMAX จากบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง WiMAX Forum Certification Profile ในหัวข้อนี้ กับ IEEE 802.16 System Profile ในหัวข้อที่แล้ว คือWiMAX Forum Certification Profile จะมีการกำหนดเพิ่มเติมถึงแถบคลื่นวิทยุที่ใช้งานของอุปกรณ์ WiMAX รวมถึง Duplexing Technology (TDD หรือ FDD) ที่ใช้เนื่องจากส่วนประกอบที่มีราคาแพงในอุปกรณ์ WiMAX คือ ส่วนของภาครับส่งคลื่นวิทยุ ดังนั้นเพื่อให้อุปกรณ์ WiMAX มีราคาที่ต่ำลง WiMAX Forum จึงเลือกกำหนดเจาะจงแถบคลื่นวิทยุที่ใช้งานสำหรับ อุปกรณ์ WiMAX ซึ่งเป็นการลดตัวเลือกสำหรับแถบคลื่นวิทยุที่ใช้งานลง มีผลช่วยให้บริษัทผู้ผลิตสามารถกำหนด การผลิตอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เกิดการผลิตแบบ mass production ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ WiMAXมีราคาที่ต่ำลงเพื่อให้เกิดการกระตุ้นการใช้งาน WiMAX ได้กว้างขวางขึ้น แต่แถบคลื่นวิทยุที่ใช้งานนั้นต้องสอดคล้องกับกฎระเบียบและการจัดสรรความถี่ของแต่ละประเทศ ดังนั้น WiMAX Forum จึงต้องมีการประสานงานกับ International Telecommunication Union (ITU) และ Regulator ของแต่ละประเทศเพื่อให้มีการจัดสรรความถี่สำหรับการใช้งาน WiMAX ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันขณะนี้ WiMAX Forum ได้กำหนด certification profile สำหรับการรับรองอุปกรณ์ในรอบแรก โดยกำหนดแถบคลื่นวิทยุที่ใช้งาน 2 แถบคือแถบคลื่นวิทยุบริเวณ 3.5 GHz และแถบคลื่นวิทยุบริเวณ 5.8 GHz ดังตารางที่ 1-4 กระบวนการทดสอบอุปกรณ์ WiMAX ของ WiMAX Forum ได้เริ่มตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2005 ซึ่งคาดหวังว่า การทดสอบและรับรองอุปกรณ์ในรอบแรกจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2005 หลังจากที่การขบวนการทดสอบและรับรองอุปกรณ์แล้วเสร็จ ก็จะเริ่มมีอุปกรณ์ WiMAX ที่ผ่านการรับรองแล้วเข้าสู่ตลาด [Available online at : http://www.nectec.or.th/]






นอกจากสองแถบคลื่นวิทยุข้างต้น ขณะนี้ WiMAX Forum กำลังพิจารณา certification profile ในการทดสอบ รอบหน้า คือ certification profile ในแถบคลื่นวิทยุบริเวณ 2.5 GHz ดังตารางที่ 1-5


1.8 IEEE 802.16 System Profiles

IEEE 802.16 ได้กำหนด System Profile หรือสเปคของอุปกรณ์ เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตได้ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ WiMAX ตารางที่ 1-3 แสดงตัวอย่าง System Profile ของ WirelessMAN-OFDM ซึ่งประกอบไปด้วย profile หรือสเปคสำหรับ Media Access Control และ profile สำหรับ Physical Layer ในแต่ละ profile มาตรฐานได้กำหนด ค่าตัวแปรที่สำคัญสำหรับสเปคของอุปกรณ์ จากตารางจะสังเกตได้ว่า system profile เหล่านี้ไม่ได้เจาะจงว่าให้ใช้งานที่แถบคลื่นวิทยุที่เท่าใด มีแต่เพียงกำหนดสเปคแบ่งตามความกว้างของ ช่องสัญญาณเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ProfP3_1.75 เป็น Profile ในส่วนของ Physical Layer ของอุปกรณ์ WiMAX ที่ใช้เทคโนโลยี OFDM ที่มีการใช้งานด้วยความกว้างของช่องสัญญาณที่ 1.75 MHz เป็นต้น [Available online at : http://www.nectec.or.th/]